ธนาสิริ Thanasiri
  • ค้นหา
  • เมนู
  • ค้นหา
  • เมนู
บริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ที่อยู่ : เลขที่ 650 , 652 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
โทร. : 02 005 8888
ติดตามโซเชียล เน็ตเวิร์ก ธนาสิริ
อัปเดททุกความเคลื่อนไหวก่อนใคร
อ่านแล้ว
47
อัพโหลด
18 ต.ค. 2567
แชร์
บทความ

ฮาวทูกรีน อย่างไร ... ให้คงอยู่ยั่งยืน

  • อัพโหลด 18 ต.ค. 2567
  • อ่านแล้ว 47
การปรับตัวของวงการอสังหาริมทรัพย์ในวันที่โลกป่วย เมื่อเจอกับวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน

สิ่งที่ภาคธุรกิจควรทำอย่างแท้จริงเพื่อสนับสนุนความยั่งยืน คือ การสร้างเครือข่ายพันธมิตรกรีน (Green Alliance) ร่วมกันสร้างวิถีการทำธุรกิจ หรือ ฮาวทูกรีน อย่างไร ไม่ทำร้ายโลกไปมากกว่านี้ แล้วเดินหน้าไปด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพื่อให้การดำเนินธุรกิจคงอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยการตั้งต้นจากเทรนด์รักษ์โลกไปยังพันธมิตรกรีน (Green Alliance) ในทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และลงมือกันตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ มองในมุมกลับว่าจากเทรนด์นั้น เรากำลังแก้ปัญหา หรือสร้างปัญหา แล้วถ้าเขย่าความคิดดีๆ ออกมาได้ ปัญหาเหล่านี้จะแก้แบบไหนได้



วิถีการทำธุรกิจ หรือ ฮาวทูกรีนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น กระบวนการก่อสร้างจะเห็นภาพที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้ชัดเจนที่สุด เพราะเป็นต้นน้ำในลำดับต้นๆ ที่ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเริ่มพัฒนาโครงการ หลายค่ายอสังหาริมทรัพย์จึงหันมาจับมือกับพันธมิตรกรีน (Green Alliance) ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น วิศวกร สถาปนิก อินทีเรีย ผู้จัดการโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ตลอดจนคนงาน หรือนักสร้างบ้านของเรา เพื่อวางกรอบแนวทางพัฒนาโครงการในการหาจุดร่วมสร้างฮาวทูกรีนไปด้วยกัน


การนำโมเดล Total Green Real Estate Development - Service มาใช้เป็นหลักในการยึดโยงเพื่อให้เข้ากับวิธีการดำเนินงานแบบกรีนๆ ช่วยส่งผลให้การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ออกมาเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีทีมสนับสนุนวิถีการทำธุรกิจ อย่างพันธมิตรกรีน (Green Alliance) เป็นคนลงมือเคลื่อนกำลัง พร้อมกับการนำ Circular Economy หรือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน มาเป็นตัวขับเคลื่อนกรีนในการเลือกใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ปล่อยให้กระบวนการผลิตเพิ่มปริมาณของเสียเข้าไป และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมนั้นๆ เสื่อมโทรมไปด้วยมลพิษ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลความยั่งยืน

โดยแนวทางที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้แก่ การปฏิรูป (Reform) เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนที่สามารถควบคุมจากภายในได้ อย่างในพื้นที่ก่อสร้างหากมีการจัดระเบียบ/แยกประเภท/ระบุอายุการใช้งานของวัสดุอุปกรณ์ ช่วยให้คนงานสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนก่อสร้างได้ ขณะเดียวกัน ส่งผลให้ควบคุม/ ลด (Reduce) การสั่งซื้อวัสดุได้ด้วย โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังเป็นการสร้างวัฏจักรหมุนเวียนทรัพยากรให้ช้าลงด้วย ตลอดจนการนำเศษวัสดุที่เหลือมาใช้ซ้ำ (Reuse) ให้เกิดประโยชน์ต่อได้ เพิ่มการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้มากขึ้น จนได้แนวทางที่เป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง

นช่วงเวลาที่มนุษย์เราบนโลกใบนี้ใช้ทรัพยากรทะลุเพดานโลกไปแล้ว ถ้าเรายังมีความตระหนักถึงปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมจับมือกันเดินหน้าธุรกิจตามเส้นทางสายกรีนไปกับเทรนด์รักษ์โลกแล้วนั้น นอกจากจะช่วยกันสร้างโลกให้น่าอยู่ขึ้นมาได้แล้ว ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการมัดใจกลุ่มผู้บริโภคสายกรีน และอีกหนึ่งประเด็นสำคัญไม่แพ้กัน วิถีการทำธุรกิจเทรนด์นี้ จะคงอยู่อย่างยั่งยืนอีกด้วย