อ่านแล้ว
564
อัพโหลด
01 ก.ค. 2567
แชร์
บทความ
บ้านของ “เขา” ที่ “เรา” ต้องดูแล
- อัพโหลด 01 ก.ค. 2567
- อ่านแล้ว 564
ในวันที่อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ถูกตราหน้าว่าเป็นนักทำลาย แล้วนักสร้างบ้านอย่างเราจะอยู่กันอย่างไร !!??
ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการก่อสร้าง นอกเหนือจากเป็นกระบวนการที่รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง และสภาพแวดล้อมของเมืองแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ
คำถามสำคัญ ... แล้วคนในอุตสาหกรรมจะ “สร้าง” อย่าง “รักษ์โลก” ได้อย่างไร ... แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นการบริหารกระบวนการก่อสร้างบนความคุ้มค่าที่ไม่ใช่แค่การรักษ์โลก แต่เป็นอนาคตในการอยู่อาศัย ผ่านกลยุทธ์ “Green Construction” หนึ่งในโมเดล Total Green Real Estate Development-Service สู่การยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งการใช้ทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยน Waste ความสูญเสีย ให้เป็น Wealth ด้วยการสร้างผลประโยชน์คืนกลับสู่ผู้อยู่อาศัย
ไม่เกินจริงเลยกับ บ้านของ “เขา” ที่ “เรา” ต้องดูแล สำหรับนักสร้างบ้าน ที่แม้จะได้ชื่อว่าอยู่ในอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบกับรอบข้าง แต่หลักสำคัญ คือการสร้างที่อยู่อาศัยคุณภาพ และน่าอยู่ ให้กับคนอยากมีบ้าน และบ้านนั้น เป็นบ้านที่เราต้องดูแล รักษา จนกว่าจะส่งมอบให้เจ้าของบ้าน ด้วยกระบวนการก่อสร้างที่ใส่ใจ ขณะเดียวกันต้องสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วนในกระบวนการนี้ทั้งหมดเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นการส่งมอบคุณค่า/ ประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ดีให้แก่ลูกค้า คู่ค้า แรงงาน ชุมชนข้างเคียง สิ่งแวดล้อม และสังคมทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับแนวทางปฏิบัติ Q-C-S-S-S เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานและเป้าหมายของแต่ละองค์กร ประกอบด้วย
คุณภาพ (Q-Quality) – คุณภาพบ้านที่ดีเยี่ยมตลอดการใช้ชีวิตอยู่
ต้นทุน (C-Cost) – ต้นทุนโครงการที่เหมาะสม
ระยะเวลาก่อสร้าง (S-Speed) – ระยะเวลาก่อสร้างเป็นไปตามข้อตกลงกับลูกค้า
ความปลอดภัย (S-Safety) – การดำเนินโครงการให้ปลอดภัย ลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ ทั้งภายใน และภายนอก
สังคมและสิ่งแวดล้อม (S-Surrounding) – การดูแลผลกระทบเพื่อนบ้าน และสภาพแวดล้อมรอบๆ โครงการ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรบกวนระบบนิเวศให้น้อยที่สุด หรือดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยลดผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรต่างๆ ด้วยการนำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวมาผูกรวมกับกิจกรรม Green – Clean – Lean ให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน เชื่อว่าจะส่งผลให้การสร้างบ้านแบบรักษ์โลกจะเห็นประสิทธิผลออกมาได้อย่างชัดเจน พร้อมส่งมอบต่อให้ท่านเจ้าของบ้าน ทั้งบ้านที่ทรงคุณภาพ และคุณค่า
เช่น การคำนวณการใช้วัสดุก่อสร้างให้เหลือเศษน้อยที่สุด หรือการนำวัสดุที่เหลือจากงานก่อสร้างมาทำให้เกิดชิ้นงานใหม่ การล้อมต้นไม้เดิมในโครงการเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้เดิมไว้ การฉีดน้ำบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเพื่อลดฝุ่นละอองในอากาศ การคัดแยกขยะมูลฝอยและขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการพัฒนากระบวนการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง
Green Construction ช่วยยกระดับกระบวนการก่อสร้างให้มีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ... เป็นมากกว่ากลยุทธ์สำหรับนักสร้างบ้าน แต่คือความใส่ใจในคุณภาพชีวิต และอนาคตการอยู่อาศัยของผู้คน
ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการก่อสร้าง นอกเหนือจากเป็นกระบวนการที่รบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง และสภาพแวดล้อมของเมืองแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนักหน่วง เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ
คำถามสำคัญ ... แล้วคนในอุตสาหกรรมจะ “สร้าง” อย่าง “รักษ์โลก” ได้อย่างไร ... แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นการบริหารกระบวนการก่อสร้างบนความคุ้มค่าที่ไม่ใช่แค่การรักษ์โลก แต่เป็นอนาคตในการอยู่อาศัย ผ่านกลยุทธ์ “Green Construction” หนึ่งในโมเดล Total Green Real Estate Development-Service สู่การยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งการใช้ทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยน Waste ความสูญเสีย ให้เป็น Wealth ด้วยการสร้างผลประโยชน์คืนกลับสู่ผู้อยู่อาศัย
ไม่เกินจริงเลยกับ บ้านของ “เขา” ที่ “เรา” ต้องดูแล สำหรับนักสร้างบ้าน ที่แม้จะได้ชื่อว่าอยู่ในอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบกับรอบข้าง แต่หลักสำคัญ คือการสร้างที่อยู่อาศัยคุณภาพ และน่าอยู่ ให้กับคนอยากมีบ้าน และบ้านนั้น เป็นบ้านที่เราต้องดูแล รักษา จนกว่าจะส่งมอบให้เจ้าของบ้าน ด้วยกระบวนการก่อสร้างที่ใส่ใจ ขณะเดียวกันต้องสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วนในกระบวนการนี้ทั้งหมดเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นการส่งมอบคุณค่า/ ประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ดีให้แก่ลูกค้า คู่ค้า แรงงาน ชุมชนข้างเคียง สิ่งแวดล้อม และสังคมทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับแนวทางปฏิบัติ Q-C-S-S-S เพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานและเป้าหมายของแต่ละองค์กร ประกอบด้วย
คุณภาพ (Q-Quality) – คุณภาพบ้านที่ดีเยี่ยมตลอดการใช้ชีวิตอยู่
ต้นทุน (C-Cost) – ต้นทุนโครงการที่เหมาะสม
ระยะเวลาก่อสร้าง (S-Speed) – ระยะเวลาก่อสร้างเป็นไปตามข้อตกลงกับลูกค้า
ความปลอดภัย (S-Safety) – การดำเนินโครงการให้ปลอดภัย ลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ ทั้งภายใน และภายนอก
สังคมและสิ่งแวดล้อม (S-Surrounding) – การดูแลผลกระทบเพื่อนบ้าน และสภาพแวดล้อมรอบๆ โครงการ
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรบกวนระบบนิเวศให้น้อยที่สุด หรือดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยลดผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรต่างๆ ด้วยการนำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวมาผูกรวมกับกิจกรรม Green – Clean – Lean ให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน เชื่อว่าจะส่งผลให้การสร้างบ้านแบบรักษ์โลกจะเห็นประสิทธิผลออกมาได้อย่างชัดเจน พร้อมส่งมอบต่อให้ท่านเจ้าของบ้าน ทั้งบ้านที่ทรงคุณภาพ และคุณค่า
เช่น การคำนวณการใช้วัสดุก่อสร้างให้เหลือเศษน้อยที่สุด หรือการนำวัสดุที่เหลือจากงานก่อสร้างมาทำให้เกิดชิ้นงานใหม่ การล้อมต้นไม้เดิมในโครงการเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้เดิมไว้ การฉีดน้ำบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเพื่อลดฝุ่นละอองในอากาศ การคัดแยกขยะมูลฝอยและขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการพัฒนากระบวนการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง
Green Construction ช่วยยกระดับกระบวนการก่อสร้างให้มีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ... เป็นมากกว่ากลยุทธ์สำหรับนักสร้างบ้าน แต่คือความใส่ใจในคุณภาพชีวิต และอนาคตการอยู่อาศัยของผู้คน